เมนู

อรรถกถานิคคหะที่ 6, 7, และที่ 8


หัวข้อที่เป็นประธานทั้ง 3 ( คือ นิคคหะที่ 3. 4. และที่ 5. )
เหล่านี้ท่านแบ่งไว้ในอนุโลมปัจจนิกปัญจกะตามลำดับ ด้วยสามารถแห่ง
อนุโลมพอประมาณก่อนนั่นแหละ เพื่อจะแจกปัจจนิกานุโลมปัญจกะ
ด้วยสามารถแห่งปัจจนิกพอประมาณอีก จึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล
นูปลพฺภติ
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดย
นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในปัจจนิกตามที่ย่อมาไว้ในพระบาลีแห่งอนุโลมนั่น
แหละ และโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอนุโลมตามที่ย่อไว้ในพระบาลี
แห่งปัจจนิกนั่นแหละด้วย. บัณฑิตพึงทราบ การประกอบวาทะนี้ ชื่อว่า
อัฏฐมุขตามที่ท่านชี้แจงไว้แล้วด้วยสามารถแห่งปัจจนิกอย่างละ 2 คือ
สัจฉิกัตถะทั้ง 4 คือ สุทธิกสัจฉิกัตถะ1 1. และสัจฉิกัตถะทั้ง2 3 เหล่านี้
ด้วย แห่งอนุโลมปัจจนิกและปัจจนิกานุโลมในสัจฉิกัตถะอย่างละหนึ่ง
ด้วย ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. การประกอบวาทะ ชื่อว่า อัฏฐมุขอันใด
ที่ท่านจารึกไว้ในพระบาลีว่า นิคคหะ 8 ในฝ่ายละหนึ่ง ย่อมมีด้วย
สามารถแห่งนิคคหะอย่างละหนึ่ง ดังนี้ ท่านกล่าวคำนั้นไว้ในที่นี้ว่า.-
การประกอบวาทะ อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้วนี้ ชื่อว่า
อัฏฐมุข โดยประเภทแห่งปัญจกะทั้ง 2 ในปัญหา 4 อย่าง ด้วยประการ
1. คำว่า สุทธิกสัจฉิกัตฉะ ได้แก่ สัจฉิกัตถะล้วน คือไม่เจือด้วยอย่าง
อื่น.
2. คำว่า สัจฉิกัตถะทั้ง 3 ได้แก่ สัจฉิกัตถะที่ท่านกล่าวถึงที่ทั้งปวง
ในกาลทั้งปวง และในธรรมทั้งปวง.